ภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย




วนอุทยานภูชี้ฟ้า - ภูชี้ฟ้า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ป่าโซน C ตามแผนที่ ZONING เนื้อที่ที่สำรวจและเห็นควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ประมาณ 2,500 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่วนอุทยานเป็นยอดเขาสูงในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร จุดสูงสุดคือ บริเวณจุดชมวิว มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซนต์
ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เป็นป่าดิบเขา ยกเว้นบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้าประมาณ 300 ไร่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อเดือย ก่อก้างด้าง ก่อแดง ก่อน้ำ ก่อแป้น ก่อสีเสียด อบเชย กำยาน หว้า เหมือด สารภี จำปาป่า จำปีป่า พันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส เฟิร์นชนิดต่าง ๆ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เก้ง กระจง หมูป่า อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือ ปลา แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า เพียงพอน กระรอกบิน กระรอก กระแต
นกที่พบเห็นได้แก่ นกเขา เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรี นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกกิ้งโครง นกขุนทอง นกแซว นกนางแอ่น นกยูง นกตะขาบ นกหัวขวาน นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ เต่า กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง
สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ

การเดินทางสู่ ภูชี้ฟ้า - วนอุทยานภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้า อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยัง ภูชี้ฟ้า ได้ตามแนวเส้นทางดังนี้

จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า

ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่นเส้นทางสายนี้เป็นทางลาดยาง 104 กิโลเมตรและทางดินลูกรัง 40 กิโลเมตร ผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งได้แก่
น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) และด่านบ้านฮวก หมู่บ้านชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ทดลองและส่งเสริมปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เช่น ทิวลิป ลิลลี่

จากภูชี้ฟ้าสามารถเดินทางไปยังดอยผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยอยู่ห่างออกไปตามเส้นทางหลวงจังหวัดสาย 1093 เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร และจากดอยผาตั้งยังสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายได้อีกด้วย

ดอยแม่ตะมาน

ช่วงฤดูหนาวจากที่พักในช่วงเช้าจะมองเห็นทะเลหมอกหนามอง และเห็นเทือกดอยหลวงเชียงดาวสูงเหนือทะเลหมอกได้อย่างชัดเจน กลางคืนจะเห็นดาว เต็มท้องฟ้าและแสงระยิบระยับจากเมืองเชียงดาว มีแปลงปลูกดอกไม้นาๆชนิดโดยเฉพาะดอกฝิ่น การไปเยี่ยมชมควรติดต่อสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาว

                                       

หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวสามารถขอแวะเข้าเยี่ยมชมทิวทัศน์ที่หน่วยได้ หากต้องการค้างคืนสามารถติดต่อขอกางเต้นท์ได้ที่ลานกางเต้นท์ของสถานีวิจัยเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่อยู่ติดกัน



สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะดอยเชียงดาว เป็นหน่วยงานของคณะเกษตร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ในทำเลที่มองเห็นเทือกดอยหลวงเชียงดาวได้อย่างชัดเจนและสวยงาม มีนกหลายชนิดที่เห็นอยู่ตลอด เช่น นกเขียวก้านตองสีส้ม นกติ๊ดใหญ่ นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกกะรองทองแก้มขาว และ อีกหลายชนิด

ทะเลหมอก ดอกไม้งาม

ในวันที่ม่านหมอกสลายไปพร้อมกับแสงสีทองของพระอาทิตย์เบื้องหน้าเป็นยอดดอยหลวงเชียงดาว ข้างๆ เป็นต้นซากุระสีหวานกับสายลมเย็นยามเช้าช่วยทำให้ห้วงเวลาบนสันป่าเกี๊ยะ…ยิ่งใหญ่และน่าจดจำ